วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ราคาเลื่อยยนต์ตามตลาดออนไลน์

ราคาเลื่อยยนต์ตามตลาดออนไลน์







จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษา

สติลแม้เป็นเครื่องที่ทนต่อการทำงานแต่ถ้าขาดการบำรุงรักษาให้ดีก็สามารถเสียหายก่อนเวลาที่ควรจะเป็นได้ง่าย
การบำรุงรักษา

          เลื่อยยนต์นั้น อาจจะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความสะดวกสบายในการใช้งานในชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ใช้การทำงานในสิ่งปลูกสร้าง การเกษตรที่จะทำให้ลดระยะเวลาการทำงาน ให้น้อยลง แต่ปัญหาที่จะเกิดกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเหล่านี้ เราควรบำรุงรักษาและศึกษา การใช้งานสิ่งเหล่านี้ให้ถูกวิธี เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้ได้อยู่กับคุณได้นานที่สุด
1. พูดถึงในเรื่องการผสมน้ำมันอันดับแรก คือการผสม 2T กับน้ำมันเบนซิน ไม่ควรผสม ในถังน้ำมันเด็ดขาด เพราะการระเหยของน้ำมันกับ 2T นั้นมีความเหนียวหนืดต่างกัน ควรผสมในแกลลอนหรือขวดข้างนอก เพื่อยืดอายุการทำงานของคาบู
2. เมื่อการใช้งานของเครื่องหยุดทำงานเป็นเวลานานเช่น 1 อาทิตย์หรือมากกว่านั้น ควรนำน้ำมันที่อยู่ในถังนั้น ๆ ออกให้หมดเพราะการเก็บน้ำมันไว้ในถังนาน ๆ จะเป็นต้นเหตุ ให้สายน้ำมันผุกร่อนได้ง่าย
3. หลังการใช้งานทุกครั้งควรทำความสะอาดผ้ากองที่อยู่ในเครื่องเสมอ เพราะถ้าไม่หมั่น ทำความสะอาดจะเป็นเหตุให้คาบูตัน สตาร์ทติดยาก
4. เมื่อช่วงเวลาทำงานนั้นเป็นเวลาพัก ควรเก็บไว้ในที่ล่ม เพราะจะทำให้ถังน้ำมันผุหรือระเบิดได้
5. ควรตรวจเช็ค น๊อต ฝาครอบบาร์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐานอยู่เสมอ
6. อย่าโยนหรือตะแคงเครื่องเป็นเวลานานเกินไป
กฎหมายเลื่อยยนต์
สรุปข้อกำหนดหลักๆ ขอเลื่อยโซ่ยนต์ ที่ถูกกฏหมายไม่ต้องใบขออนุญาต คือ
ตัวเครื่องไม่เกิน 1 แรงม้า
บาร์โซ่ต้องไม่เกิน 12 นิ้ว
ต้องถูกข้อกำหนดทั้งสองส่วน  จะเข้าเพียงข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้ จึงจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขึ้นทะเบียน
เลื่อยโซ่ยนต์ที่ไม่เข้าเงื่อนไขต้องมีใบอนุญาตครอบครองได้แก่
มีขนาดที่เกิน แรงม้าขึ้นไป
ความยาวบาร์มากกว่า  1 ฟุต
ต้องขออนุญาตมีกับป่าไม้(กระทรวงทรัพยากรฯ)
ส่วนที่ขนาดน้อยกว่านี้ เขาเรียกว่าเครื่องตัดแต่งกิ่งไม้
ขนาดนี้สามารถซื้อมาใช้ได้เลยไม่ต้องขอนุญาต

กฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
กําหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์พ.ศ. ๒๕๕๕ อาศัยอํานาจตามความในบทนิยามคําว่า “เลื่อยโซ่ยนต์” ในมาตรา ๓ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์พ.ศ. ๒๕๔๕ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ประกอบกับมาตรา ๔๑และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ เลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า
(๑) เครื่องมือสําหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกําลัง
เครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสําเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกําลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่
ที่มีขนาดความยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว
(๒) ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (๑) ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องจักรกลต้นกําลังที่มีการออกแบบตัวเครื่องและอุปกรณ์ประกอบตัวเครื่องให้มีลักษณะ
หรือสภาพเพื่อนํามาประกอบเป็นเครื่องมือตาม (๑) โดยเฉพาะ ที่มีต้นกําลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า
(ข) แผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว
ข้อ ๓ ผู้ใดมี ผลิต หรือนําเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามข้อ ๒ อยู่แล้วในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและ
การออกใบอนุญาตให้มี ผลิต หรือนําเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ และการเปลี่ยนแปลงเลื่อยโซ่ยนต์ให้มีกําลัง
เครื่องจักรกลเพิ่มขึ้น รวมทั้งคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๕๑ และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
     หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีเครื่องต้นกําลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้าและมีแผ่นบังคับโซ่ขนาดความยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถใช้ในการตัดไม้ทําลายป่าได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงสมควรกําหนดให้เลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของ เลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และโดยที่การกําหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และสวนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ ต้องเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ลงชื่อ ปรีชา    เร่งสมบูรณ์สุข

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งานเลื่อยยนต์เบื้องต้น

คู่มือการใช้งานเลื่อยโซ่ยนต์เบื้องต้น

การประกอบและการเตรียมเครื่องก่อนใช้งาน หลังแกะกล่องใหม่

วิธีการใส่บาร์โซ่และการตั้งโซ่ที่ถูกต้อง

1. นำไขควงบล๊อคมาขันน๊อต 2 ตัวนี้ออกก่อนเพื่อใส่บาร์โซ่
2. ใส่โซ่เข้ากับบาร์แล้วนำมาเข้ากับตัวเครื่องดังภาพ
*ฟันของโซ่ให้หันออกตามลูกศรดังภาพ*





3. ใส่ฝาครอบขันน๊อตเข้าตามเดิมเช็คความตึงของโซ่
*อย่าเพิ่งขันน๊อตแน่นเพราะต้องตั้งความตึงโซ่ก่อน*
4. ขันตรงจุดที่ลูกศรชี้เพื่อตั้งโซ่ อย่าให้ตึงเกินไปเพราะเมื่อใช้ งานจริงความตึงอาจทำให้โซ่ ขาดได้ง่าย
เมื่อตั้งโซ่เสร็จ ก็ขันน๊อตให้แน่นตามเดิม



การใส่น้ำมัน
5. ผสมน้ำมัน 2T เข้ากับน้ำมันเบนซิน ผสมให้เข้ากันก่อนเติม ในอัตราส่วน 25 : 1 ส่วน เขย่าผสมให้เข้ากันก่อนเติม
*ทริคง่าย ๆ ใส่น้ำมันจนเกือบเต็มขวด(ที่แถม) + 2T อีก 1 ฝา เขย่าให้เข้ากัน*




6. ใส่น้ำมันเลี้ยงโซ่,หล่อลื่นโซ่ ในช่องที่ใกล้กับบาร์โซ่ ควรเช็คเสมอไม่ให้แห้งหรือเต็มเกินไป

การสตาร์ทเครื่องครั้งแรก(หลังจากการเตรียมเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
1. ดันสวิทช์ลงเพื่อเปิดโช้คก่อนสตาร์ทเครื่อง
*ระบบคล้ายกับมอเตอร์ไซด์ หากอากาศเย็นหรือชื้น ควรเปิดโช้คเพื่อสตาร์ทได้ง่ายขึ้น*


2. สตาร์ทเครื่องประมาณ 6-10 ครั้งเมื่อเครื่องติด ให้ดึงโช้คขึ้นมาอยู่ระดับที่ 2 (ระดับเปิดทำงานปกติ)
*ไม่ควรดึงแรงจนสุดเชือก ควรฝึกดึงสตาร์ทแค่พอกระตุก เพื่อไม่ทำให้เฟืองสตาร์ทเสียง่าย*

ความหมายของสวิทช์แต่ละระดับ
ระดับที่ 1 คือการปิดโช้ค,ปิดการทำงาน หรือ ปิดอากาศเข้า
ระดับที่ 2 คือการเปิดโช้ค ในระดับของการทำงานปกติ
)-( ระดับที่ 3 คือการเปิดโช้คให้อากาศเข้าปานกลาง
I-I ระดับที่ 4 คือการเปิดโช้คให้อากาศเข้ามากที่สุด
*ในการเปิดฝาครอบข้างบนก็จำเป็นต้องดันโช้คมาในระดับที่ 4 ด้วย*
วิธีการล็อคโซ่



วิธีการปล่อยโซ่



จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ข้อมูลในการเลือกซื้อเลื่อยยนต์จากผู้มีประสบณ์การใช้จริง

ข้อมูลในการเลือกซื้อเลื่อยยนต์จากผู้มีประสบณ์การใช้จริง

คำถาม
     ท่านที่ซื้อเลื่อยยนต์มาใช้เอง แนะนำหน่อยครับผม 
1  ยี่ห้อ ขนาด ราคา แหล่งผลิต น้ำมันชื้อเพลิง หล่อลื่น
งานที่ใช้ ตัดแต่งต้นไม้ขนาดกลาง เช่น ยูคา มะม่วง ไผ่
3  ปริมาณงาน  ไม่มาก แต่บ่อย
เอาว่ายี่ห้ออะไรใช้ดี ต้องราคาสูงไหม ต้องเป็นของยุโรปหรืออเมริกาไหม
ขอบคุณครับ
คำตอบ
 1.     มีหลากหลายยี่ห้อครับ ถ้าถามคนเป็นช่างส่วนมากมักจะเลือกยี่ห้อ มากีต้า
   -  ขนาด ต้องไม่เกิน 2 แรงม้า บาร์เลื่อยต้องไม่เกิน 12 นิ้วถ้าอยากได้มากกว่านี้ต้องขออนุญาตมีกับป่าไม้
   -  แหล่ง ถามร้านค้าประเภทอุกรณ์ก่อสร้าง ร้านขายเหล็ก ในตัวจังหวัดของท่านได้ มีให้เลือกชมมากมาย
   -  น้ำมันเชื้อเพลิง ใช้เบนซิน ครับ และตอนนี้มีแบบใช้ไฟฟ้ามาให้เลือกเสียงเงียบดีมาก ผมกำลังเก็บตังค์จะเอาตัวนี้อยู่ครับ
   -  น้ำมันหล่อลื่นโซ่ก็น้ำมันเครื่องทั่วไป ทั้งเบนซินและดีเซลใช้ได้หมด น้ำมันเครื่องเก่าก็ได้ แต่ไม่ดีอุดตันง่าย
2.   ตัดแต่งไผ่ไม่น่าจะเหมาะนะครับเพราะลำต้นมันเล็กอาจดีดเราได้
3.   ข้อนี้ขนาดความจุของถังน้ำมันไม่ถึง 1 ลิตร บังคับในตัวอยู่แล้ว นำมันหมดถังคนก็ล้าแล้ว ก็พอดีเป็นการพักคน พักเครื่องและเอา         เศษขี้เลื่อยออกจากโซ่และรอบตัวเครื่อง   ปล่อยให้เครื่องเย็นคนหายล้าแล้วค่อยลุยงานต่อ
4.   ขอแถมถ้างานงานเยอะหรือไม่อยากเสียเวลาตะไบโซ่ก็ใหซื้อโซ่หรือบาร์โซ่สำรองด้วย
      จากประสบการณ์ที่ใช้ มากีต้า ราคา 9,500 บาท จำได้เท่านี้ครับ รอท่านอื่นมาเสริ 



จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ






ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์           การใช้เลื่อยนยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้จักส่วนต่างๆของเลื่อยยนต์เสียก่อน เพราะถ้...