วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งานเลื่อยยนต์เบื้องต้น

คู่มือการใช้งานเลื่อยโซ่ยนต์เบื้องต้น

การประกอบและการเตรียมเครื่องก่อนใช้งาน หลังแกะกล่องใหม่

วิธีการใส่บาร์โซ่และการตั้งโซ่ที่ถูกต้อง

1. นำไขควงบล๊อคมาขันน๊อต 2 ตัวนี้ออกก่อนเพื่อใส่บาร์โซ่
2. ใส่โซ่เข้ากับบาร์แล้วนำมาเข้ากับตัวเครื่องดังภาพ
*ฟันของโซ่ให้หันออกตามลูกศรดังภาพ*





3. ใส่ฝาครอบขันน๊อตเข้าตามเดิมเช็คความตึงของโซ่
*อย่าเพิ่งขันน๊อตแน่นเพราะต้องตั้งความตึงโซ่ก่อน*
4. ขันตรงจุดที่ลูกศรชี้เพื่อตั้งโซ่ อย่าให้ตึงเกินไปเพราะเมื่อใช้ งานจริงความตึงอาจทำให้โซ่ ขาดได้ง่าย
เมื่อตั้งโซ่เสร็จ ก็ขันน๊อตให้แน่นตามเดิม



การใส่น้ำมัน
5. ผสมน้ำมัน 2T เข้ากับน้ำมันเบนซิน ผสมให้เข้ากันก่อนเติม ในอัตราส่วน 25 : 1 ส่วน เขย่าผสมให้เข้ากันก่อนเติม
*ทริคง่าย ๆ ใส่น้ำมันจนเกือบเต็มขวด(ที่แถม) + 2T อีก 1 ฝา เขย่าให้เข้ากัน*




6. ใส่น้ำมันเลี้ยงโซ่,หล่อลื่นโซ่ ในช่องที่ใกล้กับบาร์โซ่ ควรเช็คเสมอไม่ให้แห้งหรือเต็มเกินไป

การสตาร์ทเครื่องครั้งแรก(หลังจากการเตรียมเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
1. ดันสวิทช์ลงเพื่อเปิดโช้คก่อนสตาร์ทเครื่อง
*ระบบคล้ายกับมอเตอร์ไซด์ หากอากาศเย็นหรือชื้น ควรเปิดโช้คเพื่อสตาร์ทได้ง่ายขึ้น*


2. สตาร์ทเครื่องประมาณ 6-10 ครั้งเมื่อเครื่องติด ให้ดึงโช้คขึ้นมาอยู่ระดับที่ 2 (ระดับเปิดทำงานปกติ)
*ไม่ควรดึงแรงจนสุดเชือก ควรฝึกดึงสตาร์ทแค่พอกระตุก เพื่อไม่ทำให้เฟืองสตาร์ทเสียง่าย*

ความหมายของสวิทช์แต่ละระดับ
ระดับที่ 1 คือการปิดโช้ค,ปิดการทำงาน หรือ ปิดอากาศเข้า
ระดับที่ 2 คือการเปิดโช้ค ในระดับของการทำงานปกติ
)-( ระดับที่ 3 คือการเปิดโช้คให้อากาศเข้าปานกลาง
I-I ระดับที่ 4 คือการเปิดโช้คให้อากาศเข้ามากที่สุด
*ในการเปิดฝาครอบข้างบนก็จำเป็นต้องดันโช้คมาในระดับที่ 4 ด้วย*
วิธีการล็อคโซ่



วิธีการปล่อยโซ่



จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์           การใช้เลื่อยนยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้จักส่วนต่างๆของเลื่อยยนต์เสียก่อน เพราะถ้...