วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

การล้มไม้ด้วยเลื่อยยนต์

การล้มไม้ด้วยเลื่อยยนต์

เลื่อยยนต์เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่มีผู้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการตัดไม้ โดยใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กเป็นต้นกำลัง ส่วนประกอบสำคัญของเลื่อยยนต์ นอกจากเครื่องยนต์แล้ว ยังมีใบเลื่อย ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานรองรับโซ่เลื่อย โซ่เลื่อยนั้นมีฟันคล้ายเลื่อยธรรมดา แต่ตัวโซ่จะหมุนรอบใบเลื่อยตามกำลังฉุดของเครื่องยนต์ อาการหมุนอย่างรวดเร็วของโซ่เลื่อยที่มีฟันเหมือนเลื่อยธรรมดานี้เอง ทำให้เลื่อยยนต์มีกำลังในการตัดไม้ได้ ช่างเหล็กชาวเยอรมันเป็นผู้ประดิษฐ์เลื่อยยนต์นี้ขึ้นในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘) แต่ในระยะนั้นยังไม่มีผู้นิยมใช้ เพราะตัวเลื่อยยนต์มีน้ำหนักมาก และเป็นชนิดใช้ ๒ คน จึงไม่สะดวกที่จะนำไปใช้งานในป่า เมื่อได้ดัดแปลงให้มีน้ำหนักเบาลง และใช้งานเพียงคนเดียวได้แล้ว การใช้เลื่อยยนต์จึงแพร่หลายมากขึ้น ในประเทศไทยได้มีการนำเลื่อยยนต์มาใช้ในการทำไม้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้เคยมีการทดลองเปรียบเทียบเฉพาะความเร็วในการตัดไม้ระหว่างเลื่อยยนต์ และเลื่อยขวานธรรมดา ปรากฏว่า เลื่อยยนต์ตัดไม้ขนาดเดียวกันได้เร็วกว่าเลื่อยขวานธรรมดาถึง ๑๗ เท่า แต่เมื่อเปรียบเทียบถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ไปในการซื้อเลื่อยยนต์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าจ้างแรงงานซึ่งสูงกว่าการใช้เลื่อยธรรมดา ประสิทธิภาพของเลื่อยยนต์ก็ยังสูงเป็นอัตราส่วน ๕:๑ การใช้เลื่อยยนต์ในการตัดไม้มีข้อดีที่ว่า สามารถตัดไม้ขนาดใหญ่ได้ โดยใช้เลื่อยยนต์ที่มีความยาวของใบเลื่อยเพียงครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์ กลางของไม้ที่จะตัด เช่น เลื่อยยนต์ที่มีความยาวของใบเลื่อย ๕๐ เซนติเมตร ก็ใช้ตัดไม้ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐๐ เซนติเมตรได้ สำหรับไม้ขนาดนี้ถ้าใช้เลื่อยตัดธรรมดาจะต้องใช้เลื่อยตัดซึ่งมีความ ยาวอย่างน้อย ๑๕๐ เซนติเมตร เพราะต้องเผื่อความยาวไว้ในการชักเลื่อยไปมาด้วย นอกจากนั้น เลื่อยยนต์ยังสามารถตัดไม้ได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับตัดไม้ที่ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน และเหมาะสำหรับใช้ในการทอนไม้ เพราะเลื่อยยนต์ใช้ทอนจากส่วนล่างของไม้ขึ้นไปหาส่วนบนได้ การทอนจากข้างล่างขึ้นไปหาข้างบนเช่นนี้ ทำให้ไม้ไม่บีบใบเลื่อย และไม่ต้องใช้ลิ่ม แต่เลื่อยยนต์ก็มีข้อเสียในเรื่องมีน้ำหนักมาก จึงไม่สะดวกที่จะใช้ตัดไม้ซึ่งแต่ละต้นอยู่ห่างกัน โดยเฉพาะการตัดไม้บนเขา จะต้องแบกเครื่องยนต์ซึ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเขาด้วย นอกจากนั้น เลื่อยยนต์ยังมีปัญหาในเรื่องเครื่องอะไหล่น้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนต้องใช้ผู้ชำนาญ หรือผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ ซึ่งต้องจ้างด้วยราคาสูง สำหรับประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับคนว่างงานมากจะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย 

จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177

นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์           การใช้เลื่อยนยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้จักส่วนต่างๆของเลื่อยยนต์เสียก่อน เพราะถ้...