วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์
          การใช้เลื่อยนยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้จักส่วนต่างๆของเลื่อยยนต์เสียก่อน เพราะถ้าเรารู้ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์แล้ว เราก็จะสามารถใช้เลื่อยยนต์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย วันนี้ Realmartonline จะมาแนะนำส่วนต่างๆของเลื่อยยนต์ไปดูกันเลยว่าส่วนต่างๆนี้มันคืออะไรไปดูกันเลย

หมายเลข 1  คือ  ที่จับด้านหน้า เอาไว้จับเวลาใช้เลื่อยยนตืทำงาน
หมายเลข 2  คือ ตัวดึงสตาร์ท เป็นตัวสตาร์ทเครื่องให้เลื่อยยนต์ทำงาน
หมายเลข 3  คือ สวิทช์ เปิด-ปิดเครื่อง เป็นการเปิด-ปิดเครื่องก่อนที่จะสตาร์ทเครื่อง เพื่อใช้เลื่อยทำงาน
หมายเลข 4  คือ ตัวปลดล็อคไกรเร่ง เป็นตัวปลดล็อคที่ทำให้สามารถเร่งเครื่องเลื่อยยนต์ได้
หมายเลข 5  คือ ถังน้ำมันโซ่ เป็นถังที่เก็บน้ำมันไว้ในการเลี้ยงโซ่
หมายเลข 6  คือ ถังน้ำมันเบนซิน เป็นถังที่เก็บน้ำมันเบนซินไว้เลี้ยงเครื่อง โดยจะใช้น้ำมันเบนซิน 91
หมายเลข 7  คือ ไกรเร่งเครื่อง เป็นตัวเร่งเครื่องให้เลื่อยยนต์ทำงานเพื่อไม่ให้เครื่องดับ

หมายเลข 8   คือ  ปากฉลาม
หมายเลข 9   คือ  น๊อตเปิดฝาเครื่องครอบบาร์โซ่ เป็นการเปิด-ปิดฝาครอบบาร์โซ่เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับ                               โซ่


หมายเลข 10 คือ  โซ่
หมายเลข 11 คือ  บาร์โซ่
เลื่อยยนต์มีส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละรุ่น และมีวิธีการใช้ที่เหมือนๆกันซึ่งแบบที่ Realmartonline ได้แนะนำมานี้
เป็นส่วนประกอบเบื่องต้นของเลื่อยยนต์เท่านั้น แต่การใช้งานเลื่อยยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้นเราจึงต้องศึกษาวิธีการใช้งานจากคู่มืออย่างละเอียดและปรึกษากับช่างผู้เชียวชาญ


จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180



มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

การล้มไม้ด้วยเลื่อยยนต์

การล้มไม้ด้วยเลื่อยยนต์

เลื่อยยนต์เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่มีผู้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการตัดไม้ โดยใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กเป็นต้นกำลัง ส่วนประกอบสำคัญของเลื่อยยนต์ นอกจากเครื่องยนต์แล้ว ยังมีใบเลื่อย ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานรองรับโซ่เลื่อย โซ่เลื่อยนั้นมีฟันคล้ายเลื่อยธรรมดา แต่ตัวโซ่จะหมุนรอบใบเลื่อยตามกำลังฉุดของเครื่องยนต์ อาการหมุนอย่างรวดเร็วของโซ่เลื่อยที่มีฟันเหมือนเลื่อยธรรมดานี้เอง ทำให้เลื่อยยนต์มีกำลังในการตัดไม้ได้ ช่างเหล็กชาวเยอรมันเป็นผู้ประดิษฐ์เลื่อยยนต์นี้ขึ้นในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘) แต่ในระยะนั้นยังไม่มีผู้นิยมใช้ เพราะตัวเลื่อยยนต์มีน้ำหนักมาก และเป็นชนิดใช้ ๒ คน จึงไม่สะดวกที่จะนำไปใช้งานในป่า เมื่อได้ดัดแปลงให้มีน้ำหนักเบาลง และใช้งานเพียงคนเดียวได้แล้ว การใช้เลื่อยยนต์จึงแพร่หลายมากขึ้น ในประเทศไทยได้มีการนำเลื่อยยนต์มาใช้ในการทำไม้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้เคยมีการทดลองเปรียบเทียบเฉพาะความเร็วในการตัดไม้ระหว่างเลื่อยยนต์ และเลื่อยขวานธรรมดา ปรากฏว่า เลื่อยยนต์ตัดไม้ขนาดเดียวกันได้เร็วกว่าเลื่อยขวานธรรมดาถึง ๑๗ เท่า แต่เมื่อเปรียบเทียบถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ไปในการซื้อเลื่อยยนต์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าจ้างแรงงานซึ่งสูงกว่าการใช้เลื่อยธรรมดา ประสิทธิภาพของเลื่อยยนต์ก็ยังสูงเป็นอัตราส่วน ๕:๑ การใช้เลื่อยยนต์ในการตัดไม้มีข้อดีที่ว่า สามารถตัดไม้ขนาดใหญ่ได้ โดยใช้เลื่อยยนต์ที่มีความยาวของใบเลื่อยเพียงครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์ กลางของไม้ที่จะตัด เช่น เลื่อยยนต์ที่มีความยาวของใบเลื่อย ๕๐ เซนติเมตร ก็ใช้ตัดไม้ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐๐ เซนติเมตรได้ สำหรับไม้ขนาดนี้ถ้าใช้เลื่อยตัดธรรมดาจะต้องใช้เลื่อยตัดซึ่งมีความ ยาวอย่างน้อย ๑๕๐ เซนติเมตร เพราะต้องเผื่อความยาวไว้ในการชักเลื่อยไปมาด้วย นอกจากนั้น เลื่อยยนต์ยังสามารถตัดไม้ได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับตัดไม้ที่ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน และเหมาะสำหรับใช้ในการทอนไม้ เพราะเลื่อยยนต์ใช้ทอนจากส่วนล่างของไม้ขึ้นไปหาส่วนบนได้ การทอนจากข้างล่างขึ้นไปหาข้างบนเช่นนี้ ทำให้ไม้ไม่บีบใบเลื่อย และไม่ต้องใช้ลิ่ม แต่เลื่อยยนต์ก็มีข้อเสียในเรื่องมีน้ำหนักมาก จึงไม่สะดวกที่จะใช้ตัดไม้ซึ่งแต่ละต้นอยู่ห่างกัน โดยเฉพาะการตัดไม้บนเขา จะต้องแบกเครื่องยนต์ซึ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเขาด้วย นอกจากนั้น เลื่อยยนต์ยังมีปัญหาในเรื่องเครื่องอะไหล่น้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนต้องใช้ผู้ชำนาญ หรือผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ ซึ่งต้องจ้างด้วยราคาสูง สำหรับประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับคนว่างงานมากจะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย 

จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177

นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การทำโมเดลเลื่อยยนต์ และ การบำรุงรักษา

การทำโมเดลเลื่อยยนต์ และ การบำรุงรักษา



การบำรุงรักษา วิธีการทำงานของเลื่อยยนต์


จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิธีทำในโปรแกรม Solid woks

วิธีทำในโปรแกรม Solid woks









โดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ราคาเลื่อยยนต์ตามตลาดออนไลน์

ราคาเลื่อยยนต์ตามตลาดออนไลน์







จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษา

สติลแม้เป็นเครื่องที่ทนต่อการทำงานแต่ถ้าขาดการบำรุงรักษาให้ดีก็สามารถเสียหายก่อนเวลาที่ควรจะเป็นได้ง่าย
การบำรุงรักษา

          เลื่อยยนต์นั้น อาจจะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความสะดวกสบายในการใช้งานในชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ใช้การทำงานในสิ่งปลูกสร้าง การเกษตรที่จะทำให้ลดระยะเวลาการทำงาน ให้น้อยลง แต่ปัญหาที่จะเกิดกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเหล่านี้ เราควรบำรุงรักษาและศึกษา การใช้งานสิ่งเหล่านี้ให้ถูกวิธี เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้ได้อยู่กับคุณได้นานที่สุด
1. พูดถึงในเรื่องการผสมน้ำมันอันดับแรก คือการผสม 2T กับน้ำมันเบนซิน ไม่ควรผสม ในถังน้ำมันเด็ดขาด เพราะการระเหยของน้ำมันกับ 2T นั้นมีความเหนียวหนืดต่างกัน ควรผสมในแกลลอนหรือขวดข้างนอก เพื่อยืดอายุการทำงานของคาบู
2. เมื่อการใช้งานของเครื่องหยุดทำงานเป็นเวลานานเช่น 1 อาทิตย์หรือมากกว่านั้น ควรนำน้ำมันที่อยู่ในถังนั้น ๆ ออกให้หมดเพราะการเก็บน้ำมันไว้ในถังนาน ๆ จะเป็นต้นเหตุ ให้สายน้ำมันผุกร่อนได้ง่าย
3. หลังการใช้งานทุกครั้งควรทำความสะอาดผ้ากองที่อยู่ในเครื่องเสมอ เพราะถ้าไม่หมั่น ทำความสะอาดจะเป็นเหตุให้คาบูตัน สตาร์ทติดยาก
4. เมื่อช่วงเวลาทำงานนั้นเป็นเวลาพัก ควรเก็บไว้ในที่ล่ม เพราะจะทำให้ถังน้ำมันผุหรือระเบิดได้
5. ควรตรวจเช็ค น๊อต ฝาครอบบาร์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐานอยู่เสมอ
6. อย่าโยนหรือตะแคงเครื่องเป็นเวลานานเกินไป
กฎหมายเลื่อยยนต์
สรุปข้อกำหนดหลักๆ ขอเลื่อยโซ่ยนต์ ที่ถูกกฏหมายไม่ต้องใบขออนุญาต คือ
ตัวเครื่องไม่เกิน 1 แรงม้า
บาร์โซ่ต้องไม่เกิน 12 นิ้ว
ต้องถูกข้อกำหนดทั้งสองส่วน  จะเข้าเพียงข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้ จึงจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขึ้นทะเบียน
เลื่อยโซ่ยนต์ที่ไม่เข้าเงื่อนไขต้องมีใบอนุญาตครอบครองได้แก่
มีขนาดที่เกิน แรงม้าขึ้นไป
ความยาวบาร์มากกว่า  1 ฟุต
ต้องขออนุญาตมีกับป่าไม้(กระทรวงทรัพยากรฯ)
ส่วนที่ขนาดน้อยกว่านี้ เขาเรียกว่าเครื่องตัดแต่งกิ่งไม้
ขนาดนี้สามารถซื้อมาใช้ได้เลยไม่ต้องขอนุญาต

กฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
กําหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์พ.ศ. ๒๕๕๕ อาศัยอํานาจตามความในบทนิยามคําว่า “เลื่อยโซ่ยนต์” ในมาตรา ๓ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์พ.ศ. ๒๕๔๕ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ประกอบกับมาตรา ๔๑และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ เลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า
(๑) เครื่องมือสําหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกําลัง
เครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสําเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกําลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่
ที่มีขนาดความยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว
(๒) ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (๑) ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องจักรกลต้นกําลังที่มีการออกแบบตัวเครื่องและอุปกรณ์ประกอบตัวเครื่องให้มีลักษณะ
หรือสภาพเพื่อนํามาประกอบเป็นเครื่องมือตาม (๑) โดยเฉพาะ ที่มีต้นกําลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า
(ข) แผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว
ข้อ ๓ ผู้ใดมี ผลิต หรือนําเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามข้อ ๒ อยู่แล้วในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและ
การออกใบอนุญาตให้มี ผลิต หรือนําเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ และการเปลี่ยนแปลงเลื่อยโซ่ยนต์ให้มีกําลัง
เครื่องจักรกลเพิ่มขึ้น รวมทั้งคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๕๑ และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
     หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีเครื่องต้นกําลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้าและมีแผ่นบังคับโซ่ขนาดความยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถใช้ในการตัดไม้ทําลายป่าได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงสมควรกําหนดให้เลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของ เลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และโดยที่การกําหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และสวนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ ต้องเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ลงชื่อ ปรีชา    เร่งสมบูรณ์สุข

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งานเลื่อยยนต์เบื้องต้น

คู่มือการใช้งานเลื่อยโซ่ยนต์เบื้องต้น

การประกอบและการเตรียมเครื่องก่อนใช้งาน หลังแกะกล่องใหม่

วิธีการใส่บาร์โซ่และการตั้งโซ่ที่ถูกต้อง

1. นำไขควงบล๊อคมาขันน๊อต 2 ตัวนี้ออกก่อนเพื่อใส่บาร์โซ่
2. ใส่โซ่เข้ากับบาร์แล้วนำมาเข้ากับตัวเครื่องดังภาพ
*ฟันของโซ่ให้หันออกตามลูกศรดังภาพ*





3. ใส่ฝาครอบขันน๊อตเข้าตามเดิมเช็คความตึงของโซ่
*อย่าเพิ่งขันน๊อตแน่นเพราะต้องตั้งความตึงโซ่ก่อน*
4. ขันตรงจุดที่ลูกศรชี้เพื่อตั้งโซ่ อย่าให้ตึงเกินไปเพราะเมื่อใช้ งานจริงความตึงอาจทำให้โซ่ ขาดได้ง่าย
เมื่อตั้งโซ่เสร็จ ก็ขันน๊อตให้แน่นตามเดิม



การใส่น้ำมัน
5. ผสมน้ำมัน 2T เข้ากับน้ำมันเบนซิน ผสมให้เข้ากันก่อนเติม ในอัตราส่วน 25 : 1 ส่วน เขย่าผสมให้เข้ากันก่อนเติม
*ทริคง่าย ๆ ใส่น้ำมันจนเกือบเต็มขวด(ที่แถม) + 2T อีก 1 ฝา เขย่าให้เข้ากัน*




6. ใส่น้ำมันเลี้ยงโซ่,หล่อลื่นโซ่ ในช่องที่ใกล้กับบาร์โซ่ ควรเช็คเสมอไม่ให้แห้งหรือเต็มเกินไป

การสตาร์ทเครื่องครั้งแรก(หลังจากการเตรียมเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
1. ดันสวิทช์ลงเพื่อเปิดโช้คก่อนสตาร์ทเครื่อง
*ระบบคล้ายกับมอเตอร์ไซด์ หากอากาศเย็นหรือชื้น ควรเปิดโช้คเพื่อสตาร์ทได้ง่ายขึ้น*


2. สตาร์ทเครื่องประมาณ 6-10 ครั้งเมื่อเครื่องติด ให้ดึงโช้คขึ้นมาอยู่ระดับที่ 2 (ระดับเปิดทำงานปกติ)
*ไม่ควรดึงแรงจนสุดเชือก ควรฝึกดึงสตาร์ทแค่พอกระตุก เพื่อไม่ทำให้เฟืองสตาร์ทเสียง่าย*

ความหมายของสวิทช์แต่ละระดับ
ระดับที่ 1 คือการปิดโช้ค,ปิดการทำงาน หรือ ปิดอากาศเข้า
ระดับที่ 2 คือการเปิดโช้ค ในระดับของการทำงานปกติ
)-( ระดับที่ 3 คือการเปิดโช้คให้อากาศเข้าปานกลาง
I-I ระดับที่ 4 คือการเปิดโช้คให้อากาศเข้ามากที่สุด
*ในการเปิดฝาครอบข้างบนก็จำเป็นต้องดันโช้คมาในระดับที่ 4 ด้วย*
วิธีการล็อคโซ่



วิธีการปล่อยโซ่



จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ข้อมูลในการเลือกซื้อเลื่อยยนต์จากผู้มีประสบณ์การใช้จริง

ข้อมูลในการเลือกซื้อเลื่อยยนต์จากผู้มีประสบณ์การใช้จริง

คำถาม
     ท่านที่ซื้อเลื่อยยนต์มาใช้เอง แนะนำหน่อยครับผม 
1  ยี่ห้อ ขนาด ราคา แหล่งผลิต น้ำมันชื้อเพลิง หล่อลื่น
งานที่ใช้ ตัดแต่งต้นไม้ขนาดกลาง เช่น ยูคา มะม่วง ไผ่
3  ปริมาณงาน  ไม่มาก แต่บ่อย
เอาว่ายี่ห้ออะไรใช้ดี ต้องราคาสูงไหม ต้องเป็นของยุโรปหรืออเมริกาไหม
ขอบคุณครับ
คำตอบ
 1.     มีหลากหลายยี่ห้อครับ ถ้าถามคนเป็นช่างส่วนมากมักจะเลือกยี่ห้อ มากีต้า
   -  ขนาด ต้องไม่เกิน 2 แรงม้า บาร์เลื่อยต้องไม่เกิน 12 นิ้วถ้าอยากได้มากกว่านี้ต้องขออนุญาตมีกับป่าไม้
   -  แหล่ง ถามร้านค้าประเภทอุกรณ์ก่อสร้าง ร้านขายเหล็ก ในตัวจังหวัดของท่านได้ มีให้เลือกชมมากมาย
   -  น้ำมันเชื้อเพลิง ใช้เบนซิน ครับ และตอนนี้มีแบบใช้ไฟฟ้ามาให้เลือกเสียงเงียบดีมาก ผมกำลังเก็บตังค์จะเอาตัวนี้อยู่ครับ
   -  น้ำมันหล่อลื่นโซ่ก็น้ำมันเครื่องทั่วไป ทั้งเบนซินและดีเซลใช้ได้หมด น้ำมันเครื่องเก่าก็ได้ แต่ไม่ดีอุดตันง่าย
2.   ตัดแต่งไผ่ไม่น่าจะเหมาะนะครับเพราะลำต้นมันเล็กอาจดีดเราได้
3.   ข้อนี้ขนาดความจุของถังน้ำมันไม่ถึง 1 ลิตร บังคับในตัวอยู่แล้ว นำมันหมดถังคนก็ล้าแล้ว ก็พอดีเป็นการพักคน พักเครื่องและเอา         เศษขี้เลื่อยออกจากโซ่และรอบตัวเครื่อง   ปล่อยให้เครื่องเย็นคนหายล้าแล้วค่อยลุยงานต่อ
4.   ขอแถมถ้างานงานเยอะหรือไม่อยากเสียเวลาตะไบโซ่ก็ใหซื้อโซ่หรือบาร์โซ่สำรองด้วย
      จากประสบการณ์ที่ใช้ มากีต้า ราคา 9,500 บาท จำได้เท่านี้ครับ รอท่านอื่นมาเสริ 



จัดทำโดย
นายกฤษดา    ช่องศรี  58109010156
นายณัฐชนน  โสภา     58109010177
นายณัฐภัทร  แซ่ตั้ง     58109010180

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ






ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์

ส่วนประกอบของเลื่อยยนต์           การใช้เลื่อยนยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้จักส่วนต่างๆของเลื่อยยนต์เสียก่อน เพราะถ้...